โคมอกไก่ หรือ โคม V-Shape เป็นโคมชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมในการติดตั้งบนอาคารสำนักงาน โรงเรียน และโกดังสินค้า จนหลาย ๆคนเรียกว่า "โคมโรงเรียน"
Knowledge
โคมตัวยู คือโคมที่มีลักษณะส่วนหัวด้านหน้าคล้ายตัว U จึงนิยมเรียกกันว่าโคมตัวยู ซึ่งโคมตัวยูจะมีฝาครอบเป็นโพลีคาร์บอเนต(PC)หรืออะคริลิคนั้นเอง
ในปัจจุบันมีการผลิตและจําหน่ายหลอดหลอดฟลูออเรสเซนต์ T8 โดย T8 ใช้ไฟฟ้า 36 วัตต์ และได้มีการพัฒนาก้าวหน้าไปเรื่อยๆ เริ่ม มีการใช้หลอดผอมใหม่ หรือ T5 ที่ใช้ไฟฟ้าเพียง 28 วัตต์ ซึ่งเมื่อรวม บัลลาสต์ แล้วใช้ไฟฟ้า 31 วัตต์ เทียบกับ 46 วัตต์ สําหรับหลอด T8 รวมบัลลาสต์ จึงทําให้ประหยัดไฟฟ้าได้ถึง 30% แต่ปัญหา คือ ราคา ติดตั้งค่อนข้างแพง ส่วนการติดตั้งหลอด T5 เพื่อใช้ทดแทนหลอด T8 เดิมที่มีอยู่
บัลลาสต์เป็นอุปกรณ์ที่จําเป็นสําหรับการใช้งานควบคุมการทํางานของหลอดก๊าซดีสชาร์จ นอกจากจะช่วยในการทํางานของวงจรไฟฟ้าแสงสว่างให้สมบูรณ์แล้ว ยังมีผลต่อการควบคุมฟลักซ์การส่องสว่าง อายุการใช้งานของหลอด
โคมไฟที่สร้างขึ้นมามีลักษณะของการกระจายแสงสว่างต่าง ๆ กันออกไป ขึ้นอยู่กับความต้องการของงานประเภทนั้นๆ เมื่อมีการกระจายแสงสว่างออกเป็นหลาย ๆ ลักษณะ ก็จําเป็นจะต้องมีการจัดหมวดหมู่หรือจําแนกประเภทของการกระจายแสงสว่างของดวงโคมนั้นออกไป โดยใช้หลักการของการกระจายแสงสวางในแนวดิ่งของดวงโคม โดยพิจารณาจากอัตราส่วนของปริมาณพลักซ์การส่องสว่างที่พุ่งออกมาจากดวงโคมที่ลงสู่พื้นต่อปริมาณของแสงสว่างที่กระจายออกจากดวงโคมขึ้นสู่เพดาน
หลอดไฟ หรือหลอดไฟฟ้า เป็นองค์ประกอบหลักที่ทำให้เกิดแสงสว่าง สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิดใหญ่ๆ คือ หลอดอินแคนเดสเซนต์ (Incandescent lamp) หลอดปล่อยประจุ
ก๊าซหรือหลอดดีสชาร์จ (Discharge Lamp)และหลอดประเภทเรืองแสงในตัว (Luminescence Lamps)
โคมโรงงาน” หรือ “โคมไฟโรงงาน” เป็นโคมไฟที่ตั้งชื่อเรียกตามสถานที่่ที่นำไปใช้งานมากที่สุดนั้นคือ โรงงานอุตสาหกรรม เนื่องจากโคมโรงงานมีคุณสมบัติของความประหยัดเป็นพื้นฐาน นั้นคือราคาตัวโคมโรงงานค่อนข้างถูกเมื่อเทียบกับโคมไฟประเภทอื่นๆ และ คุณสมบัติในการประหยัดพลังงานของโคมโรงงานเพราะเป็นโคมที่ให้แสงสว่างสูง
ในปัจจุบันหลอดไฟ LED เริ่มเข้ามามีบทบาทมาก เนื่องคุณสมบัติของหลอดไฟ LED ที่โดดเด่นคือ ทนทาน กินไฟน้อย ตัวหลอดไฟมีความร้อนน้อยมาก แตกต่างกับหลอดไฟประเภทอื่นๆ ที่แตะตัวหลอดระหว่างใช้งานไม่ได้ เพราะร้อนมากเนื่องจากทำงานโดยเผาไส้เพื่อให้เกิดแสงสว่าง
โคมไฟฟลูออเรสเซนต์แบบหลอดเปลือย (Bare Type) เป็นโคมไฟที่ให้แสงสว่างทุกทิศทาง เหมาะสำหรับพื้นที่ที่ไม่ได้เน้นความสวยงามมากนัก แต่ต้องการประหยัดไฟฟ้า
การเลือกซื้อหลอดประหยัดไฟ LED ในปัจจุบัน ไฟ LED มีให้เลือกซื้อมากมายหลายแบบ การเลือกซื้อและใช้หลอด LED จึงขึ้นอยู่กับจุดประสงค์การใช้งานและความพึงพอใจของผู้ใช้งานเป็นหลัก
เทคโนโลยีการผลิตต่างๆ ในปัจจุบันนั้นมีการพัฒนาและก้าวหน้าไปมาก มีการนำเทคโนโลยีขั้นสูง (high
technology)มาใช้ในอุตสาหกรรมมากขึ้นซึ่งในกระบวนการผลิตจำเป็นต้องมีการควบคุมสิ่งปนเปื้อนในอากาศภายใต้
สภาวะแวดล้อมที่สะอาดหรือห้องสะอาด(cleanroom) เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ที่ได้มีคุณภาพดี ห้องสะอาดจะต้องปราศจาก
ฝุ่นละอองใดๆเกือบทั้งหมด
การตรวจวัดความเข้มแสงสว่างมีหลายวิธี เราจึงอ้างอิงจากแนวปฏิบัติตามกฏกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และ สภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 2549 การตรวจวัดความเข้มแสงสว่าง ( Illumination Measurement)
ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง ประกอบด้วยอุปกรณ์ต่างๆ ได้แก่ โคมไฟ หลอดไฟ บัลลาสต์ เพื่อให้เกิดความสว่างกับพื้นที่ใช้งานเช่น สำนักงาน ,ทางเดิน , ถนน เป็นต้น ดังนั้น หลักการที่สำคัญในการประหยัดพลังงานไฟฟ้าแสงสว่าง คือการติดตั้งุปกรณ์ที่มี
ประสิทธิภาพสูงและมีความสว่างเพียงพอกับความต้องการของแต่ละพื้นที่
ในปัจจุบันโคมไฟมีหลากหลายชนิด สามารถตามลักษณะการติดตั้ง ได้แก่ โคมไฟติดเพดาน/โคมไฟติดลอย , ติดฝังเพดาน ,ติดผนัง ซึ่งโคมส่วนของ Silverlight เป็นโคมติดลอย ซึ่งสามารถติดตั้งแบบติดลอยหรือแขวนได้
IP ย่อมาจากคำว่า Ingress Protection Rating หรือ “ค่ามาตรฐานการป้องกันฝุ่นและน้ำ” (ของเครื่องจักรและอุปกรณ์ไฟฟ้า)
ซึ่งถูกกำหนดโดยองค์กรที่มีชื่อว่า IEC (International Electrotechnical Commission)
โดยค่าIPจะประกอบด้วยตัวเลขสองหลัก คือ “เลขหน้า” ที่เป็นค่าการป้องกันของแข็งหรือฝุ่น กับ “เลขหลัง” ซึ่งเป็นการป้องกันของเหลวหรือน้ำ ยิ่งตัวเลขยิ่งสูง
ก็จะบ่งบอกว่าสามารถป้องกันสิ่งนั้นได้มากขึ้นนั่นเอง
โคมกันน้ำ กันฝุ่น เป็นโคมที่ผลิตขึ้นมาเพื่อใช้งานในบริเวณเหมาะสำหรับใช้ใน โรงงานอุตสาหกรรมอาหาร/เครื่องดื่ม ,โรงงานเครื่อสำอาง,LABORATORY,อุตสาหกรรมห้องเย็น,ดีพาร์ทเมนท์สโตร์, คลังสินค้า, ซุปเปอร์มาร์เก็ต, โชว์รูมต่างๆ, สถานศึกษาต่างๆ จึงมีความทนทานมากกว่าโคมแบบปกติทั่วไป
ในปัจจุบันโคมพลาสติกมีอยู่หลายหลายรูปแบบ เช่น โคมหน้าอะคริลิค โคมพลาสติก โคมกันน้ำ กันฝุ่น โคมถนน หรือ โคมโรงงาน ที่ต้องใช้ฝาครอบโคม
ซึ่งฝาครอบที่นิยมใช้คือ ฝาครอบ โพลีคาร์บอเนต , ฝาครอบโคม อะคริลิค ซึ่งมีทั้งข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกัน
ฝาครอบโคม โพลีคาร์บอเนต
ในปัจจุบัน โคมหน้าอะคริลิค หรือ โคมพลาสติกเป็นอีกหนึ่งโคมที่ได้รับความนิยมมากในการติดตั้งตาม อาคารสำนักงาน, โรงพยาบาล, ห้างสรรพสินค้า,โรงงานอุตสาหกรรม โดยจุดเด่นของโคมคือ ฝาครอบอะคริลิค ผลิตจากแผ่นอะคริลิค หรือที่เรียกกันว่า อะคริลิคพลาสติก กระจกอะคริลิค ซึ่งเป็นพลาสติกที่มีความทนทาน มีน้ำหนักเบา
การเลือกใช้โคมไฟและหลอดไฟนั้น ควรคำนึงถึง การกระจายแสงของโคมไฟ และคุณภาพของหลอดไฟ รวมถึงตำแหน่งการติดตั้งโคมไฟ โดยแผ่นสะท้อนแสงที่ใช้ในโคมมีผลต่อการกระจายแสงของ และควบคุมแสงให้ไปในทิศทางที่ต้องการ
โคมตะแกรง อะลูมิเนียม เป็นที่นิยมใช้กันมากในอาคารสำนักงาน, โรงพยาบาล, สถานศึกษาต่างๆ, อาคารสถานที่ราชการ, โรงงานอุตสาหกรรม, ซูเปอร์มาร์เก็ต, ร้านค้า, โรงแรม, ที่พักอาศัย รวมถึงโชว์รูมต่างๆ เพราะให้แสงจากโคมค่อนข้างมาก ซึ่งจะมีตัวสะท้อนแสงที่ทำจากแผ่นอะลูมิเนียม โดยโคมตะแกรงส่วนใหญ่จะมีค่า TR87% หรือค่าสัมประสิทธิ์ตัวสะท้อนแสง หมายถึง เมื่อแสงตกกระทบลงที่อะลูมิเนียมจะมีการสะท้อนกลับของแสง 87% นั้นเอง