ประสิทธิผลของหลอดไฟและ สมรรถนะของระบบแสงสว่าง และกฎหมายมาตรฐานความเข้มแสง
ประสิทธิผลของหลอดไฟ สมรรถนะของระบบแสงสว่าง และกฎหมายมาตรฐานความเข้มแสง
ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง ประกอบด้วยอุปกรณ์ต่างๆ ได้แก่ โคมไฟ หลอดไฟ บัลลาสต์ เพื่อให้เกิดความสว่างกับพื้นที่ใช้งานเช่น สำนักงาน ,ทางเดิน , ถนน เป็นต้น ดังนั้น หลักการที่สำคัญในการประหยัดพลังงานไฟฟ้าแสงสว่าง คือการติดตั้งุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูงและมีความสว่างเพียงพอกับความต้องการของแต่ละพื้นที่ ดังนั้นเราจึงได้สรุปประสิทธิผลของหลอดไฟและ สมรรถนะของระบบแสงสว่าง เพื่อให้สอดคล้อง ตามกฎหมายมาตรฐานความเข้มแสงกำหนดไว้
หน่วยที่ใช้ในการวัดแสงสว่าง
- ฟลักซ์การส่องสว่าง (Luminous Flux )
ฟลักซ์การส่องสว่าง หมายถึง ปริมาณแสงทั้งหมดที่ปล่อยออกมาจากแหล่งกำาเนิด มีหน่วยเป็น Lumen (lm)
รูปปริมาณแสงที่ออกจากหลอดไฟ
- ความเข้มแสงสว่าง (Illuminance)
ความเข้มแสงสว่าง หมายถึง ปริมาณแสง (Luminous Flux) ต่อหน่วยพื้นที่ที่รับแสง มีหน่วยเป็น lux หรือ Lumen/Sq.m.
การวัดประสิทธิผลของหลอดไฟ และสมรรถนะของระบบแสงสว่าง
1.ประสิทธิผลของหลอดไฟ (Luminous Efficacy) เป็นอัตราส่วนระหว่างปริมาณแสงของหลอดไฟกับกำลังไฟฟ้าที่ใช้ มีหน่วยเป็น ลูเมนต่อวัตต์ (Lumen/Watt)
รูปปริมาณแสงของหลอดไฟต่อกำลังไฟฟ้า
2. สมรรถนะของระบบแสงสว่าง (Lighting Performance) ประสิทธิภาพหรือสมรรถนะของระบบแสงสว่าง ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ในภาพรวมของพื้นที่ที่ใช้ระบบแสงสว่าง เป็นอัตราส่วนระหว่างกำลังไฟฟ้าของระบบแสงสว่าง กับพื้นที่ในบริเวณที่ใช้ระบบแสงสว่าง
ประสิทธิภาพหรือสมรรถนะของทั้ง 2 วิธี มีความแตกต่างกัน คือ
Luminous Efficacy พิจารณาเฉพาะหลอดไฟ โดยหลอดไฟที่มีประสิทธิภาพหรือสมรรถนะสูง หมายถึง หลอดไฟที่ต้องมีค่า Luminous Efficacy สูง
Lighting Performance พิจารณาเป็นพื้นที่ ดังนั้นการออกแบบระบบแสงสว่างที่เหมาะสม คือเลือกหลอดไฟที่มีค่า Luminous Efficacy สูง และเลือกโคมไฟที่มีประสิทธิภาพสูง และเลือกบัลลาสต์ที่มีกำลังไฟฟ้าสูญเสียต่ำ ซึ่งจะทำให้มีค่า Lighting Performance ที่ดี(ค่าต่ำ) แต่ต้องคำนึงถึง ระดับความเข้มแสงสว่าง (Illuminance) ต้องไม่น้อยกว่ามาตรฐาน
ดังนั้นค่าความเข้มแสงจึงเป็นตัวหลักในการวัดคุณภาพของแสงในแต่ละพื้นที่ ในกรณี แสงสว่างน้อยเกินไป จะมีผลเสียต่อนัยน์ตา ทำให้กล้ามเนื้อตาทำงานมากเกินไป ทำให้เกิดความเมื่อยล้าในการเพ่งมองชิ้นงาน เกิดอาการปวดตา มึนศีรษะ อาจเกิดอุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ และในกรณีที่ แสงสว่างมากเกินไป จะทำให้เกิดดารปวดตา มึนศีรษะ วิ่งเวียนและการมองเห็นแย่ลง และยังทำให้เกิดอุบัติในระหว่างทำงานได้เช่นเดียวกัน จึงได้มีการกำหนดตามประกาศกรมสวัสดิ์การและคุมครองแรงงาน เรื่อง มาตรฐานความเข้มแสงสว่าง(ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2561 ดังนี้
จากตารางมาตรฐานความเข้มของแสงสว่าง จะเห็นได้ว่าได้ถูกกำหนดเป็น ค่าลักซ์ (Lux) ซึ่งก็คือปริมาณแสงต่อพื้นที่การรับแสงนั้นเอง ซึ่งการตรวจวัดความเข้มแสงโดยทั่วไปมี 2 วิธีคือ การวัดแบบจุด หรือการวัดแบบค่าเฉลี่ย ซึ่งทางบริษัทแสงเงิน เอ็นเตอร์ไพร์ส(1992) จำกัด มีบริการให้คำปรึกษา และความคำนวณค่าความเข้มของแสงสว่าง(ซิมแสง) โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใด ๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการติดตั้งหรือใช้งานตัวสินค้า หากมีคำถามเพิ่มเติมสามารถติดต่อฝ่ายขายคุณอ้อย 094-3864646
ขอขอบพระคุณข้อมูลจาก :คู่มือฝึกอบรม การประเมินศักยภาพการอนุรักษ์พลังงาน
ดูรายละเอียดของสินค้า >>> แคตตาล๊อตสินค้า Silverlight
แอดไลน์เพื่อปรึกษาและคำนวนค่าซิมแสงฟรี >>> คุณอ้อย ฝ่ายขาย